วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ภาษาไทย การแข่งขันคัดลายมือสื่อภาษาไทย ม.1-ม.3 87 ทอง ชนะเลิศ 1. นางสาวพิณทิพย์ ครุฑศรีคราม 1. นางชุติมา โชติชูศรี


สรุปตัวแทนระดับภาค โรงเรียนดรุณาราชบุรี สพม. เขต ๘ (ราชบุรี,กาญจนบุรี) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 66 ประจำปีการศึกษา 2559 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี และโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ใน วันที่ 19 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กลุ่มสาระภาษาไทย 
การแข่งขันคัดลายมือสื่อภาษาไทย ม.1-ม.3  ชนะเลิศ เหรียญทอง ตัวแทนระดับภาค
ผู้แข่งขัน นางสาวพิณทิพย์ ครุฑศรีคราม 
ครูฝึกซ้อม นางชุติมา โชติชูศรี


 ----------------------------------------------------



วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


วันลอยกระทง 2559
วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

ความเป็นมาของเทศกาลวันลอยกระทง

คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้

   1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
   2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทม สินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
   3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไป จำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
   4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทาน ทีเมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
   5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของ พระพุทธเจ้า
   6. กาลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
   7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้อง ทะเลลึกหรือสะดือทะเล

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรม "ปริศนาภาษาไทย"

       เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2559 กลุ่มสาระภาษาไทยได้กิจกรรมการแข่งขันทายปริศนาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา







วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษาเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือนในฤดูฝน ระหว่างแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เพื่อไม่ให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวนาให้ได้รับความเสียหาย ในวันเข้าพรรษามีประเพณีที่สำคัญ 2 ประเพณี ได้แก่ ประเพณีแห่เทียนพรรษาและประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน ประเพณีแห่เทียนพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวายชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี การถวายเทียนจำนำพรรษา เชื่อกันว่ามีสาเหตุ 2 ประการ คือ 1. พระอนุรุทธะ สาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ฉลาดรอบรู้พระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน เพราะในชาติปางก่อนพระอนุรุทธะเคยให้แสงประทีปเป็นทาน 2. หญิงคนหนึ่งไปฟังธรรมที่เชตวนาราม เมืองสาวัตถี พอพลบค่ำก็ให้คนไปนำประทีปที่บ้านตนมาจุดให้แสงสว่างแก่คนที่มาฟังธรรม ครั้งนางตายไปก็ไปเกิดเป็นเทพธิดามีรัศมีเป็นแสงสว่างสวยงาม ประเพณีหลวง เรียกเป็นทางการว่า "การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา" ประเพณีนี้พระมหากษัตริย์ทรงหล่อเทียนพรรษาด้วยพระองค์เอง และเสด็จพระราชดำเนินทรงจุดบูชาพระรัตนตรัยเฉพาะพระอารามหลวงที่สำคัญ นอกนั้นทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ประเพณีราษฎร เรียกกันว่า "เทียนจำนำพรรษา" หรือ "เทียนพรรษา" ประเพณีนี้ประชาชนเป็นผู้หล่อเทียนจำนำพรรษา ปัจจุบันเทียนพรรษามี 2 ชนิด คือ เทียนพรรษาแบบจุดได้ กันเทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้ เทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้นี้จะไม่มีไส้ มีแต่ไม้หรือเหล็กกันเทียนหัก เพราะทำขึ้นมาเพื่อประกวด หรือถวายเป็นพุทธบูชาเท่านั้น ประเพณีการแห่เทียนจำนำพรรษานี้ เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติทั่วไปในประเทศไทย แต่ที่ทำกันเป็นประเพณีใหญ่โตที่สุด คือ จังหวัดอุบลราชธานี มีการแกะสลักต้นเทียนอย่างสวยงามและจัดประกวดแข่งขันก่อนแก่ไปถวายตามวัดต่างๆ การแห่เทียน เป็นประเพณีที่แสดงถึงความศรัทธา ความสามัคคีของชุมชนและเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ธำรงอยู่ต่อไป แม้ว่าปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนเป็นการซื้อเทียนพรรษาสำเร็จรูป มีไฟนีออนหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ถวายแทน แต่ถ้าทุกคนช่วยกันสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ไว้ ประเพณีการหล่อเทียนและแห่เทียนจำนำพรรษาก็จะเป็นประเพณีอยู่คู่ประเทศไทยต่อไป









อ้างอิงข้อมูล:http://www.thummavit.com/home/?page_id=27


วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมวันสุนทรภู่"ตอบคำถาม"

 วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2559 ได้มีกิจกรรมการตอบคำถามประวัติความเป็นมาของสุนทรภู่






กิจกรรมวันสุนทรภู่"แต่งกลอน"

    วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2559 มีกิจกรรมการแข่งขันแต่งกลอนเกี่ยวกับวันสุนทรภู่







กิจกรรมวันสุนทรภู่"คัดลายมือ"

    วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2559 ได้มีการแข่งขันคัดลายมือระดับมัธยมในวันสุนทรภู่ปี พ.ศ.2559

















กิจกรรมวันสุนทรภู่"แต่งคำขวัญ"

       เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2559 โรงเรียนดรุณาราชบุรีได้จัดกิจกรรมการแต่งคำขวัญเนื่องในวันสุนทรภู่













วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันสุนทรภู่

วันสุนทรภู่ ประวัติ สุนทรภู่

                   วันสุนทรภู่
วันสุนทรภู่ ตรงกับวันเกิดคือ วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี
วันสุนทรภู่ ปีนี้ตรงกับ วันอาทิตย์ 26 มิถุนายน 2559
พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (พ.ศ. 2329-2398) กวีไทยที่มีชื่อเสียงใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีผลงานที่มีชื่อเสียงหลายเรื่องได้แก่ พระอภัยมณี นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม เมื่อ พ.ศ. 2529

ประวัติสุนทรภู่

สุนทรภู่ เกิดในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบันนี้) ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 69 ปี
บิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นชาวเมืองอื่น สุนทรภู่เกิดเมื่อหลังจากได้สร้างกรุงเทพมหานครแล้ว 4 ปี แล้วต่อมาในภายหลังบิดามารดาได้หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง
เมื่อสุนทรภู่อายุได้ประมาณ 2 ขวบ มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดี ตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม
กุฎิวัดเทพธิดารามที่สุนทรภู่บวชจำพรรษา เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคากุฎิของท่าน กุฎิวัดเทพธิดารามที่สุนทรภู่บวชจำพรรษา เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคากุฎิของท่าน อนุสาวรอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่ วัดศรีสุดาราม
ใน พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ได้เป็นขุนสุนทรโวหาร ระหว่างรับราชการต้องจำคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทำร้ายญาติผู้ใหญ่ ภายหลังพ้นโทษ ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2
ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ออกจากราชการและออกบวช เมื่อลาสิกขาแล้วถวายตัวอยู่กับพระองค์เจ้าลักขณานุคุณได้ปีหนึ่ง ครั้นเจ้านายพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่ก็ขาดที่พึ่งได้รับความลำบากมาก ต้องลอยเรืออยู่และแต่งหนังสือขายเลี้ยงชีวิต ต่อมาจึงได้รับพระอุปถัมภ์ จากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2394 สุนทรภู่ ได้เป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากสุนทรภู่ (ภู่) จะได้รับนามสกุลคือ “ภู่เรือหงส์”

ผลงาน ของท่านสุนทรภู่

  • นิราศ (วันสุนทรภู่)
    • นิราศเมืองแกลง
    • นิราศพระบาท
    • นิราศภูเขาทอง
    • นิราศวัดเจ้าฟ้า
    • นิราศอิเหนา
    • นิราศสุพรรณ
    • นิราศพระประธม
    • นิราศเมืองเพชร
    • รำพันพิราป
  • นิทาน (วันสุนทรภู่)
    • โคบุตร
    • พระอภัยมณี
    • พระไชยสุริยา
    • ลักษณวงศ์
    • สิงหไตรภพ
  • สุภาษิต (วันสุนทรภู่)
    • สวัสดิรักษา
    • เพลงยาวถวายโอวาท
    • สุภาษิตสอนหญิง (สุนทรภู่)
  • บทละคร (วันสุนทรภู่)
    • อภัยนุราช
  • บทเสภา (วันสุนทรภู่)
    • ขุนช้างขุนแผน (กำเนิดพลายงาม)
    • เสภาพระราชพงศาวดาร
  • บทเห่กล่อม (วันสุนทรภู่)
    • เห่เรื่องพระอภัยมณี
    • เห่เรื่องโคบุตร
    • เห่เรื่องจับระบำ
    • เห่เรื่องกากี


    อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพ:http://www.tlcthai.com/education/history-of-thailand/4485.html

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559


วันครู 2559

คำขวัญวันครู 2559  "อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ" ซึ่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มอบคำขวัญวันครู